ประเทศญี่ปุ่นมีสตาร์บักส์กว่า 1,434 สาขา ซึ่งถือว่าเยอะมากเมื่อเทียบกับไทยที่มีแค่ 343 สาขาเท่านั้น ที่สำคัญ สตาร์บักส์ในประเทศญี่ปุ่นเป็นเชนร้านกาแฟระดับโลกที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกด้วย สตาร์บักส์ที่ญี่ปุ่นมีเรื่องสนุกๆ และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจและต่างจากเมืองไทยอยู่ค่อนข้างมาก ลองมาดูกันว่าหลายๆ เรื่องที่สตาร์บักส์ญี่ปุ่นแตกต่างจากไทยเหลือเกินนั้นมีอะไรบ้าง 1 บาริสต้าในร้านร้อยละ 80 พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนมากไม่พูดภาษาที่สอง ทำให้การสื่อสารด้วยภาษากลางอย่างภาษาอังกฤษเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น สตาร์บักส์ญี่ปุ่นจะเตรียมเมนูแบบเล่มให้ไว้ลูกค้าจิ้มสั่งได้เลย 2 สตาร์บักส์ญี่ปุ่นไม่มีชาเขียวเย็น ที่สตาร์บักส์ญี่ปุ่นมีเมนูชาเย็นแค่ 2 รายการเท่านั้นคือ ชา (ดำ) เย็น และชาส้มยูสุเย็น (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมนู Teavana) ส่วนที่เหลือจะเป็นชาร้อนทั้งสิ้น ทั้งชาเขียวมัจฉะลาเต้ (ถ้าสั่งว่า Green Tea บาริสต้าจะไม่เข้าใจ) โฮจิฉะลาเต้ และอื่นๆ และสตาร์บักส์ที่ญี่ปุ่น ไม่มีเมนูชามะนาวเย็น แต่ถ้าอยากกินชาเขียวเย็นแบบไทยจริงๆ คุณหาซื้อได้ที่ร้านสะดวกซื้อทั่วไปในรูปแบบแก้วเพียง 100 เยนเท่านั้น 3 วิธีจัดการคิวที่เสียเวลาน้อยกว่า แต่เป็นระเบียบมากกว่า ในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก (ส่วนมากเป็นวันเสาร์-อาทิตย์) สตาร์บักส์ญี่ปุ่นมีวิธีจัดการคิวคือ ให้ลูกค้าต่อแถวเป็นสองแถว แถวแรกเป็นแถวสั่งเมนู ถ้าสั่งและชำระเงินแล้วให้เก็บใบเสร็จไว้ จึงไปต่อแถวที่สองเพื่อรอรับออเดอร์ตามลำดับการชำระเงิน 4 สตาร์บักส์ญี่ปุ่นไม่มีการถามชื่อลูกค้าเพื่อเขียนลงแก้วแบบในประเทศไทย (และอีกหลายประเทศ) เพราะอย่าลืมว่าชื่อคนญี่ปุ่นมีส่วนผสมระหว่างตัวอักษระฮิระกะนะ และตัวอักษรคันจิที่หนึ่งการออกเสียงสามารถเขียนออกมาเป็นตัวคันจิได้หลายตัวมาก ดังนั้นจึงลืมปัญหาการเขียนชื่อผิดไปได้เลย เพราะสตาร์บักส์ญี่ปุ่นไม่เขียนชื่อลงแก้วอยู่แล้ว แต่จะเรียกลูกค้าด้วยชื่อเมนูแทน 5 ราคาระหว่างนั่งดื่มที่ร้านและซื้อกลับบ้านไม่เท่ากัน เพราะจากการปรับภาษีเพิ่มจาก 8 เป็น 10 เปอร์เซนต์เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลกับสตาร์บักส์เช่นกัน ทำให้ราคาเครื่องที่บอกในเมนูไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งถ้านั่งดื่มที่ร้านจะบวกภาษีเพิ่ม 10 เปอร์เซนต์ แต่ถ้าซื้อกลับบ้านเพื่อไปกินข้างนอกจะบวกเพิ่ม 8 เปอร์เซนต์ สตาร์บักส์ญี่ปุ่นจึงมีแคมเปญเล็กๆ ชื่อว่า Starbucks to go. โดยวางถุงกระดาษให้ลูกค้านำเครื่องดื่มใส่ถุงไปดื่มนอกร้าน เพื่อจูงใจให้ลูกค้าใช้บริการนอกร้าน ลูกค้าจะได้ชำระค่าเครื่องดื่มน้อยลง 6 สตาร์บักส์ไทยไม่มีเครื่องดื่มโกโก้ แต่มีเครื่องดื่มช็อคโกแลต ในขณะเดียวกัน สตาร์บักส์ญี่ปุ่นไม่มีเมนูเครื่องดื่มช็อคโกแลต มีแต่เครื่องดื่มโกโก้ 7 สตาร์บักส์ญี่ปุ่นมีเมนูเด็ก คือ นมเย็น และน้ำผลไม้กล่องน้อยๆ 8 แม้แต่สตาร์บักส์ก็แยกขยะ ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องการแยกขยะที่เข้มงวดและเข้มข้นมาก ซึ่งกับเชนกาแฟระดับโลกก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ถ้าจะทิ้งแก้วเครื่องดื่มในร้าน สตาร์บักส์ญี่ปุ่นมีช่องแยกให้ตั้งแต่แก้วกระดาษ แก้วพลาสติก น้ำแข็ง ของเหลว หรือแม้กระทั่งหลอดดูดและช้อนคนเครื่องดื่ม 9 สตาร์บักส์ญี่ปุ่นมีเมนูพิเศษ ยกตัวอย่างเมนูที่ออกขายในเทศกาลคริสต์มาส สตาร์บักส์ไทยกับญี่ปุ่นจะมีเมนูให้ไม่เหมือนกัน และค่อยๆ ออกเมนูใหม่ทุกๆ 2-3 สัปดาห์ ต่างกับที่ไทยซึ่งออกพร้อมกัน 3 เมนู และขายถึงประมาณสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 10 บัตร Starbucks Card ที่สมัครและเปิดใช้งานในญี่ปุ่น ใช้งานที่ไทยและประเทศอื่นไม่ได้ และเช่นกัน บัตร Starbucks Card ที่สมัครและเปิดใช้งานในประเทศไทย ก็ใช้งานกับประเทศอื่นไม่ได้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ bottomlineis.co | มกราคม 2563 |
Related Posts
บทวิเคราะห์ European Super League เมื่อในวันที่โลกลูกหนังถูกหมุนด้วยเงินตรา
“น่ารังเกียจ น่ารังเกียจเป็นที่สุด” คือทรรศนะของแกรี่ เนวิลล์ อดีตแบ๊คขวาระดับตำนานของทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดออกโรงจวกการกระทำของอดีตต้นสังกัดเมื่อครั้งยังสมัยค้าแข้งเป็นรายแรกๆ หลังจากที่มีการแถลงการจัดตั้งอภิมหาโปรเจกต์ครั้งใหม่ที่ชื่อยูโรเปี้ยน ซูเปอรร์ลีก (ESL) ที่มีหัวเรี่ยวหัวแรงรวบรวมโคตรทีมมาร่วมสังฆกรรมในมหรสพลูกหนังฉากใหม่นี้ ‘ฟอเรติโน่ เปเรส’ ประธานสโมสรเรอัล มาดริด จาก ลา ลีกา สเปน ควบตำแหน่งประธานการแข่งขันรายการนี้อีกหนึ่งตำแหน่ง ประกอบกับทีมบิ๊กเนมจากลีกต่างๆ อาทิ บาร์เซโลน่า แอตเลติโก มาดริด จากลีกลา ลีกา สเปน หรือยูเวนตุส เอซี มิลา อินเตอร์ มิลาน จากลีกเซเรีย เอ อิตาลี แม้แต่กลุ่ม ‘บิ๊กซิกส์’ จากพรีเมียร์ลีกอังกฤษคือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ลิเวอร์พูล เชลซี อาร์เซน่อล แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และสเปอร์ นอกจากนี้ยังมีอีกสามทีมที่ถูกส่งเทียบเชิญไปอีกเช่นเดียวกันอีกสามทีมที่คาดว่าจะเป็น บาร์เยิน มิวนิค และโบรุสเซียดอร์ทมุนต์ จากลีกบุนเดสลีกา เยอรมัน ที่ได้ปัดตกคำเชิญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีการโต้ตอบจาก UEFA และ FIFA […]