หลวงอนุสารสุนทรกิจ นามเดิม สุ่นฮี้ ชัวย่งเสง เกิดเมื่อ เดือน 12 ปีเถอะ ตรงกับเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2410 ณ บ้านทุ่งกู่ช้าง นครลำพูน มณฑลพายัพ ปัจจุจันคือ หมู่บ้านไก่แก้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายต้อย แซ่ฉั่ว กับ นางแว่น จากการให้ข้อมูลจากคุณสมยศ นิมมานเหมินท์ คุณจุมพล ชุติมา และคุณเนห์ นิมมานเหมินท์ หลวงอนุสารสุนทร ท่านเป็นคนที่รักที่จะไฝ่รู้ไฝ่เรียน ชอบทดลอง ตอนอายุ 10 ขวบ ก็สามารถปลุกพืชผักสวนครัวไว้กินเองได้ ในช่วงอายุ 12 ปี มารดาของหลวงอนุสารสุนทรถึงแก่กรรม ช่วงระยะเวลาที่ท่านและพี่น้อง อยู่กับบิดาจึงเกิดแรงบันดาลใจชอบในการค้าขายมากขึ้น เพราะหลวงอนุสารสุนทรท่านได้พบกับหญิงชราคนหนึ่ง ซึ่งยากจนมากแบบที่เรียกว่าไม่มีอันจะกิน ต้องเทียวขอน้ำแกงเปล่าๆ จากชาวบ้าน เมื่อได้มาก็เอาข้าวเหนียวจิ้มกินจนอิ่ม ประทังชีวิตไปเป็นมื้อๆ แต่ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรจะกินขนาดนั้น หญิงชรายังมีจิตใจเอื้ออารี เรียกหลวงอนุสารสุนทรซึ่งยังเด็กอยู่ให้ไปกินด้วย ทำให้ท่านรู้สึกสลดใจในชีวิตของคนที่ยากจนค่นแค้นเป้นอย่างยิ่ง ท่านนำเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์สอนตัวเองให้นึกถึงความยากจนอยู่เสมอ และเกิดความมานะว่า จะทำอย่างไรให้ชีวิตถึงไม่ยากจนอย่างนั้น ตั้งแต่นั้นมา ท่านพยายามฝึกหัดทำกิจกรรมงานทุกอย่างที่เห็นว่า จะทำได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อันเป็นทางหนึ่งของการประหยัดอดออม จนอายุ ได้ 15 ปี นายต้อย บิดาได้อพยพมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ใกล้วัดเกต จึงได้เริ่มเปิดกิจการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ฝึกใช้ลูกคิด ฝึกยิงปืน เรียนภาษาไทยล้านนา ภาษาไทยกลางกับพระสงฆ์วัดปุปคุต เมื่ออายุได้ 18 ปี บิดาถึงแก่กรรม พี่ชาย นายสุ่นปู้กับนายสุ่นโฮง ต่างแต่งงานและแยกครอบครัวออกไป หลวงอนุสารสุนทรต้องอยู่กับน้องชาย คือนายสุ่นฮวดละน้องสาวคือนางบุญปั๋นเพียงลำพัง ช่วยกันขยายกิจการ ค้าขาย สร้างเรือนไม้ด้วยฝีมือตนเองขึ้นหนึ่งหลัง โดยท่านประประกอบอาชีพเป็น ช่างซ่อมตะเกียงลาน ซ่อมนาฬิกา ซ่อมปืน รับแกะสลักไม้เป็นลวดลายต่างๆ และเป็นช่างภาพ เส้นทางการเป็นช่างภาพของหลวงอนุสารสุนทรนั้น ได้เริ่มเรียนวิชามาจาก พระยาเจริญราชไมตรี (จำนง อมาตยกุล) อธิบดีผู้พิพากษา ศาลมงฑลพายัพ ในอดีต โดยหลวงอนุสารสุนทรนั้นได้เริ่มจากการไปเป็นผู้ช่วยช่างภาพและได้เรียนรู้การถ่ายภาพจากตรงนั้น การถ่ายภาพของหลวงอนุสารสุนทร นั้นในอตีดนั้นกล้องที่เข้ามาคือกล้องถ่ายภาพพิมล์กระจก หลวงอนุสารสุนทรนั้นทำการค้าขายทางเรือ เชียงใหม่ – กรุงเทพ มากกว่า 50 ครั้ง โดย 1 ครั้งใช้เวลา 2-3 เดือน ในการเดินทางและยังทำการค้าขายกับทาง เชียงใหม่ – มะละแหม่ง โดยเดินทางทางเรือไปยัง เมื่อตาก หลังจากนั้นเดินทางเท้า โดยใช้ ม้า เกวียน ล้อ ไปยัง มะละแหม่ง เพราะ เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใกล้กับเชียงใหม่มากที่สุด ทำให้มีโอกาศในการเข้าถึงเทคโนโลยีจาก ตะวันตกจากการทำการค้าขาย หลวงอนุสารสุนทรได้ทำกิจการรับถ่ายภาพ ได้มีโอกาสในการถ่ายรูปทั้ง พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าเมือง ข้าราชการและคนทั่วไป แต่การจะเข้าถึง ถาพถ่ายนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลากหลายมาก ซึ่งในขณะนั้น ก๋วยเตี๋ยว 2 ชาม ราคา 1 สตางค์ ราคารับถ่ายภาพ คือ 50 สตางค์ ซื้อถือว่าแพงมาก การถ่ายภาพของหลวงอนุสารสุนทร มีการถ่ายแบบพอตเทรต โดยมีสตูดิโอเป็นของตัวเอง การถ่ายภาพในสตูดิโอนั้น มักมีอุปกรณ์ประกอบฉาก เพื่อเป็นการสื่อความหมายเช่นการยืนกับเก้าอี้และมีแหวนที่มือ นาฬิกา กระติกน้ำชา ร่ม ถ้วยน้ำชา กระถางดอกไม้และผ้าปูโต๊ะที่สวยงาม เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความมีถานะทางสังคม ยังมีกล่องหนังสือเพื่อบ่งบอกถึงเป็นคนมีความรู้ มีการศึกษา และมีภาพถ่าย วิถีชีวิตของคนเมืองเชียงใหม่ กิจกรรม การค้าขาย หลวงอนุสารสุนทร ถือว่าเป็นผู้ที่ได้บันทึกภาพเหตุการต่างๆในประวัติศาสตร์ ของเมืองเชียงใหม่ ขั้นตอนการถ่ายภาพกระจก ต้องเริ่มจากการเตรียมฟิล์มก่อน หลวงอนุสารสุนทรสามารถถ่ายภาพได้ 5 ภาพ ต่อ 1 วัน และใช้เวลาทำฟิล์มออกมาเป็นภาพถ่ายเป็นเวลา 2 เดือน จากการที่บันทึกภาพไว้มากมาย ทำให้นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษาในปัจจุบันได้มีโอกาสนำภาพเหล่านั้นมาศึกษาเป็นองค์ความรู้ในการถ่ายภาพ
เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ artsvisual.co | กันยายน 2562 |
Related Posts
การฉายหนังครั้งสุดท้ายของ “พะเยารามา” โรงหนังที่เต็มไปด้วยความทรงจำของคนพะเยา
ยังจำเรื่องราววันที่ไปโรงหนังครั้งแรกได้มั้ย? สำหรับตัวเรา มันเป็นวันที่คุณพ่อได้จูงมือไปดูภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องดัง ณ ขณะนั้น วันนั้นจำได้ว่าที่นั่งเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย หลายคนก็ไปพร้อมกับครอบครัว และอีกหลายคนก็ไปกับเพื่อนฝูง ผู้คนจูงมือกันเพื่อที่จะรับความบันเทิงจากจอยักษ์ที่มีขนาดใหญ่มากกว่าโทรทัศน์ และออกไปด้วยความรู้สึกตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็นช้างตัวสีฟ้า เคลื่อนไหวอยู่ในจอยักษ์ นับว่าเป็นหนึ่งในความทรงจำที่ดีมากในวัยเด็กของตัวเรา ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การเข้าถึงสื่อบันเทิงต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ผู้คนเลือกที่จะรับชมภาพยนตร์ที่โรงฯ น้อยลง จนในที่สุดโรงหนังแห่งนี้ก็ถูกปิดตัวลงไป เป็นการปิดตำนานโรงหนังแห่งสุดท้ายของจังหวัดพะเยา และใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะได้มีโรงหนังแบบมัลติเพล็กซ์แห่งแรกของจังหวัดพะเยาเปิดให้บริการ หลังจากปิดทำการ โรงหนังพะเยารามา ก็ถูกปล่อยร้างทิ้งไว้กลายเป็นเพียงเรื่องเล่าให้เด็กรุ่นใหม่ได้รับรู้ถึงบรรยากาศโรงหนังในรุ่นก่อน เราเองก็เป็นหนึ่งในคนที่มีความทรงจำมากมายกับที่นี่ เมื่อรู้ข่าวการปิดตัวก็ทำให้รู้สึกเศร้าและเสียดายที่จะไม่มีโรงหนังให้เราและเพื่อนได้มาดูแล้ว บทสรุปของที่แห่งนี้คือจะถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นอาคารสำนักงาน เป็นอันปิดตำนานโรงหนังที่รวมเรื่องราวและความทรงจำของชาวพะเยา แต่แล้ววันหนึ่งขณะกำลังเลื่อนหน้าฟีดเฟสบุ๊ค ก็มีกิจกรรมหนึ่งปรากฎขึ้นชื่อว่า Phayaorama ซึ่งเป็นโปรเจคต์ที่ว่าด้วยเหล่าคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแห่งนี้ได้จัดกิจกรรมส่งท้ายก่อนที่จะลาพะเยารามาจากกันอย่างถาวร เราอยู่ที่พะเยารามาตามนัดหมายกับอาจารย์ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ผู้เริ่มต้นโปรเจ็คนี้ “ตรงนี้จะเป็นส่วนของล็อบบี้ จะมี 2 ส่วนคือพิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง ซึ่งมีเรื่องราวของหนังไทยและก็มีเครื่องฉายหนังมาจัดเป็นพร็อพให้มีเรื่องราวเป็นของหนังกลางแปลง และก็จะมีงานของนักศึกษาในวิชาศิลปะชุมชน เป็นพาร์ทของการถ่ายสัมภาษณ์ โดยเป็นบทสัมภาษณ์ที่ได้ลงพื้นที่ไปคุยกับชุมชนเกี่ยวกับพะเยารามา” อาจารย์ปวินท์เล่าให้เราฟังถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในงานขณะที่พาเดินชมรอบ ณ ที่แห่งนี้ โรงหนังที่เต็มไปด้วยความทรงจำของชาวพะเยา Phayaorama อาจารย์ช่วยเล่าเรื่องของโรงหนังแห่งนี้ให้เราหน่อยได้มั้ยครับ ว่ามีประวัติความเป็นมาเป็นยังไง ? ณ ตอนนี้เรารู้แค่ว่าที่นี่ฉายหนังครั้งแรกเมื่อปี […]
ปวรปรัชญ์ จันทร์สุภาเสน
January 11, 2021เบื้องหลังนางสาวไทย 2020 ที่งามอย่างแตกต่างและมีคุณค่าในฉากหลังเมืองเชียงใหม่
นี่เป็นปีแรกที่เวทีการประกวดสาวงามระดับประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่างเวทีนางสาวไทย ใช้ฉากหลังในการจัดการประกวดเกือบทั้งหมดที่จังหวัดเชียงใหม่ นางสาวไทยถือเป็นเวทีประกวดที่ทรงคุณค่าทั้งในการเป็นเวทีประกวดสาวงามแห่งที่สองของประเทศไทย ซึ่งผลิตบุคลากรสาวงามคุณภาพสู่สังคมและวงการบันเทิงมากมาย ทั้งอร-อรอนงค์ ปัญญาวงค์, บุ๋ม-ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี, นุ้ย-สุจิรา อรุณพิพัฒน์, หมอเจี๊ยบ-แพทย์หญิงลลนา ก้องธรนินทร์ หรือสาวงามปีล่าสุดที่คว้าตำแหน่งนางงามนานาชาติหรือ Miss International 2019 คนแรกของประเทศไทยมาครองอย่างบิ๊นท์-เภสัชกรหญิงสิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์ จากสโลแกนงามอย่างแตกต่างและมีคุณค่าที่ทำงานทันทีเมื่ออ่านเพียงครั้งเดียว ทำให้การคัดเลือกสาวงามในปีนี้เข้มข้นอย่างมีนัยยะสำคัญจนเราได้เห็น 30 สาวงามที่มีความสวยทั้งภาย-ภายนอกต่างกันไป รวมถึงเรื่องราวที่น่าสนใจและเหตุผลที่หลากหลายในการขึ้นประกวดในปีนี้ และเพราะปีนี้สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ได้มอบสิทธิ์การจัดประกวดในปีนี้ให้กับทีมผู้จัดงานอีเวนต์ขนาดใหญ่ที่การันตีด้วยฝีมือการจัดงานอีเวนต์สำคัญๆ ในภาคเหนือกว่า 16 ปีอย่างบริษัทเอ็มกรุ๊ป ออร์แกไนซ์ แอนด์ มีเดีย จำกัด ทำให้เราได้บัตรผ่านหลังเวทีเพื่อถอดเบื้องหลังของการประกวดนางสาวไทยในปีนี้ ซึ่งมีคุณหนุ่ม-ดร.อดิศร สุดดี ประธานกรรมการบริษัทฯ ที่นั่งเก้าอี้ผู้อำนวยการกองประกวด รอนั่งสนทนากับเราถึงเบื้องหลังทั้งหมด ก่อนที่เวทีนางสาวไทยจะได้ผู้ชนะคนใหม่ที่งามอย่างแตกต่างและมีคุณค่า สมกับคำขวัญของงานในวันพรุ่งนี้ นัก (จัด) กิจกรรม เราเดินทางมาที่ออฟฟิศของเอ็มกรุ๊ปฯ ตามเวลานัดหมาย คุณหนุ่มออกมาต้อนรับเราหลังจากประชุมเตรียมงานนางสาวไทยเสร็จพอดี ย้อนกลับไปราว 20 ปีที่แล้วเมื่อครั้งคุณหนุ่มยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและเป็นหนึ่งในนักกิจกรรมตัวยงที่เขามีส่วนร่วมในงานสำคัญๆ เสมอ แต่ในยุคนั้นจังหวัดเชียงใหม่ยังไม่รู้จักอาชีพอีเวนต์ ออร์กาไนเซอร์ หรือนักจัดอีเวนต์มาก่อน […]